คลีนิคหมอดูสุขภาพจิต คลีนิคสุขภาพจิต
จิตเวช สระบุรี
สมชาย สำราญเวชพร จิตเวช สระบุรี
หมอดูสุขภาพจิต หนังสือสุขภาพจิต สมชาย สุขภาพจิต หมอดู สระบุรี ถามตอบสุขภาพจิต หมอสมชาย สำราญเวชพร
นายแพทย์สมชาย สำราญเวชพร
นายแพทย์สมชาย สำราญเวชพร
ปัญหาสุขภาพจิต
 
สั่งซื้อหนังสือ
หนังสือสุขภาพจิต
การฆ่าตัวตาย (Suicide)

การฆ่าตัวตาย (Suicide) และการฆ่าคนอื่นตาย (Homicide)

เมื่อย้อนหลังไป 20 ปี ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าตัวตายมาโรงพยาบาล มักได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากเจ้าหน้าที่แผนกฉุกเฉิน ทั้งนี้เพราะการมองผู้ป่วยฆ่าตัวตายเป็นภาระที่ไม่ควรต้องทำ บางรายอาจถูกส่งตัวมาห้องฉุกเฉินด้วยสาเหตุฆ่าตัวตายมาแล้วมากกว่า 1 ครั้ง หรือแม้แต่ญาติและคนใกล้ชิดยังเอือมระอาในความขี้ใจน้อยของผู้ป่วย และหันไปรับประทานยาจำนวนมาก ซึ่งถูกมองว่าเป็นการทำเพื่อประชด อนึ่งการฆ่าตัวตายด้วยการกินยาเกินขนาดครั้งเดียว เป็นวิธีการฆ่าตัวตายยอดฮิตที่ถูกนำส่งโรงพยาบาล ทั้งนี้เพราะการฆ่าตัวตายแบบผูกคอหรือกระโดดจากที่สูงมักไม่จำเป็นต้องถูกนำส่งห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลด้วยเป็นการฆ่าตัวตายที่สำเร็จนั่นเอง

เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินจึงมักจะทำการล้างท้องด้วยความรุนแรง เพื่อเป็นการบอกให้ผู้ป่วยทราบว่าทีหลังอย่าได้ทำอีก แต่จะมีใครรู้บ้างว่าผู้ป่วยเหล่านี้อาจกลับไปและฆ่าตัวตายสำเร็จ ทั้งนี้เพราะการฆ่าตัวตายเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเจ็บป่วย

สาเหตุการฆ่าตัวตาย ได้แก่ 1.ความคิดฆ่าตัวตายจากโรคซึมเศร้า 2.อาการหูแว่วมีเสี่ยงสั่งให้ฆ่าตัวตายจากสารเสพติด อาทิ สุรา ยาบ้า หรือจากโรคจิตแบบอื่นๆ 3.ความผิดพลาดไม่ได้ตั้งใจ

ผู้ป่วยฆ่าตัวตายไม่สำเร็จจำเป็นต้องพบจิตแพทย์ทุกราย นี่เป็นมาตรฐานการรักษาเพื่อเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำ โดยจิตแพทย์จะรักษาอาการซึมเศร้า อาการประสาทหลอน และความคิดอยากฆ่าตัวตาย ในบางกรณีอาจเกิดโศกนาฏกรรม ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าคนอื่นๆ ให้ตายตามไปด้วย อาทิ ฆ่าลูกเพราะคิดว่าทำไปเพื่อไม่ให้เขาลำบากในเมื่อแม่ต้องตายไปด้วย ฯลฯ

 
รูปภาพ
 
Copy All Right Reserved 2013 www.หมอดูสุขภาพจิต.com
เลขที่ 1/26 ถ.สุดบรรทัด13 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18120